วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยว


อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก



"พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบก๊กพระเจ้าฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย
      ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "การศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316)


 ถวายชีวิตเป็นราชพลี
      พระปรางค์วัดราชคฤห์วรวิหาร สถานที่บรรจุอัฐิของพระยาพิชัยดาบหักเมื่อปี พ.ศ. 2325 หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันท์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์พระเจ้าตากสินฯ และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตน เป็นการถวายชีวิตตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
      หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางคนี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน
      พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญรวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป
 ต้นตระกูล “วิชัยขัทคะ”
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ได้พระราชทานนามสกุลของตระกูลพระยาพิชัยดาบหักว่า “วิชัยขัทคะ” อ่านว่า ( วิ-ไช-ขัด-ทะ-คะ ) ซึ่งแปลโดยอนุโลมว่า “ดาบวิเศษ”





จิตรกรรมฝาผนังวัดกลาง

              อยู่ที่ตำบลบ้านแกะ ห่างจากตัวอำเภอ 3 กม. วัดกลางเป็นวัดเก่าแก่ มีพระอุโบสถที่มีลวดลาย รูปปั้นสวยงาม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม 

 
 
 

 
 
 
 

  อุทยานแห่งชาติคลองตรอน 
 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุทยานแห่งชาติคลองตรอน

       อุทยานแห่งชาติคลองตรอน  มีพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 324,240.80 ไร่ หรือ 518.80 ตารางกิโลเมตร  ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 โดยอุทยานแห่งชาติคลองตรอน มีพื้นที่ครอบคลุมป่าน้ำปาด ป่าปากห้วยฉลอง ป่าห้วยสีเสียด ป่าคลองตรอนฝั่งขวา และป่าคลองตรอนฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแสนตอ ตำบลน้ำไคร้ ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด ตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา และตำบลน้ำพี้ ตำบลผักขวง ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสงขัน จังหวัดอุตรดิตถ์  มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญ และสวยงาม คือ น้ำตกห้วยเนียม น้ำตกกกมอนแก้ว ถ้ำจัน ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเสือดาว ถ้ำผาตั้ง เขาภูเมี่ยง และหน้าผาที่สวยงามเป็นที่รู้จักทั่วไป  และยังมีคลองที่ชื่อว่า “คลองตรอน” เป็นคลองซึ่งลำห้วยต่างๆ ไหลมารวมกันที่คลองนี้และไหลลงสู่แม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออุทยานฯ

         อุทยานฯ มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงต่ำมีแนวเทือกเขาที่สำคัญคือ เขาภูเมี่ยง เขาคว่ำเรือ เขาหงายเรือ เขาสามเหลี่ยม เขาหยวก เขาถนน เขาแดด เขาไม้ผา เขาตักบอน เขาน้ำย้อย เขาผักขวง เขาจันทร์ ยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้านทิศตะวันออกคือ เขาภูเมี่ยง สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แหล่งกำเนิดห้วยที่สำคัญไหลจากแนวตะวันออกไปสู่แนวตะวันตกและไหลสู่แม่น้ำน่าน ได้แก่ ห้วยคลองม้ามืด เป็นต้น สภาพป่าไม้ทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ดิบเขา สนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง 



ที่มา:http://place.thai-tour.com/uttaradit

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น